Tuesday, March 6, 2007

ข่าวโทรทัศน์

หัวข้อข่าว อบจ.นคร ฯ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

(องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญตัวแทนกลุ่มสตรีจากทุกอำเภอร่วมกิจกรรม เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลในวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคม นี้

ภาพ

เสียง

v

ผู้ประกาศข่าว

GG

พนิดา แก้วกาญจน์

เทป - อ่านต่อ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญตัวแทนกลุ่มสตรีจากทุกอำเภอร่วมกิจกรรม เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ในวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคมนี้

นายชำนาญ เอียดแก้ว ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวสื่อสาธารณะว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมจัดงานสตรีสากลเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ครั้งที่ 3 ประจำปีพุทธศักราช 2550 ระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคม โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนสตรีจากทุกอำเภอ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกิจกรรมภายในงานตลอดทั้ง 3 วัน ประกอบด้วย กิจกรรมสัมมนาวิชาการ โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 920 คน กิจกรรมเดินรวมพลังสตรีจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 จำนวน 2,300 คน และกิจกรรมการแข่งขันกีฬา 6 ประเภท

ภาพ

เสียง

v เทป

แหล่งข่าว

GG

นายชำนาญ เอียดแก้ว

ผู้ช่วยนายกองค์การบริหาผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เทป อ่านต่อ

เทป อ่านต่อ

เทป อ่านต่อ

- แทรกเสียงแหล่งข่าว -

ความยาวโปรย 10 วินาที

ความยาวข่าว 1.20 วินาที

เริ่มที่ กำหนดจัดขึ้น

จบที่ พี่น้องประชาชน

ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจัดหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า ในส่วนของกิจกรรมภาคกลางคืนจะจัดขึ้นเฉพาะคืนวันที่ 9 และ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นกิจกรรมการแสดงของตัวแทนกลุ่มสตรีจาก 8 อำเภอ ทั้ง 2 คืน ละ 4 อำเภอ คือ อำเภอพิปูน , อำเภอปากพนัง, อำเภอท่าศาลา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, อำเภอหัวไทร , อำเภอเมือง และอำเภอลานสกา

ภาพข่าวอบจ. นครฯ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

ภาพข่าวอบจ. นครฯ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

นายชำนาญ เอียดแก้ว ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
การประชุมตัวแทนสตรีจากทุกอำเภอ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช

การประชุมตัวแทนสตรีจากทุกอำเภอ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช

ภาพวงค์ดุริยางค์นำขบวนการเดินเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

ภาพกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

ภาพกิจกรรมเนิ่องในโอกาสวันสตรีสากล

ภาพกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

Monday, March 5, 2007

ข่าวโทรทัศน์

- ข่าวโทรทัศน์-
หัวข้อข่าว อบจ.นคร ฯ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล
(องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญตัวแทนกลุ่มสตรีจากทุกอำเภอร่วมกิจกรรม เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลในวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคม นี้
ภาพ
เสียง
ผู้ประกาศข่าว
GG
พนิดา แก้วกาญจน์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญตัวแทนกลุ่มสตรีจากทุกอำเภอร่วมกิจกรรม เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ในวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคมนี้


เทป - อ่านต่อ
นายชำนาญ เอียดแก้ว ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวสื่อสาธารณะว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมจัดงานสตรีสากลเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ครั้งที่ 3 ประจำปีพุทธศักราช 2550 ระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคม โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนสตรีจากทุกอำเภอ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกิจกรรมภายในงานตลอดทั้ง 3 วัน ประกอบด้วย กิจกรรมสัมมนาวิชาการ ณ โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 920 คน กิจกรรมเดินรวมพลังสตรีจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 จำนวน 2,300 คน และกิจกรรมการแข่งขันกีฬา 6 ประเภท



ภาพ
เสียง
แหล่งข่าว
GG
นายชำนาญ เอียดแก้ว
ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
- แทรกเสียงแหล่งข่าว -
ความยาวโปรย 10 วินาที
ความยาวข่าว 1.20 วินาที
เริ่มที่ กำหนดจัดขึ้น
จบที่ พี่น้องประชาชน




เทป – อ่านต่อ
ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจัดหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า ในส่วนของกิจกรรมภาคกลางคืนจะจัดขึ้นเฉพาะคืนวันที่ 9 และ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นกิจกรรมการแสดงของตัวแทนกลุ่มสตรีจาก 8 อำเภอ ทั้ง 2 คืน ๆ ละ 4 อำเภอ คือ อำเภอพิปูน , อำเภอปากพนัง, อำเภอท่าศาลา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, อำเภอหัวไทร , อำเภอเมือง และอำเภอลานสกา

อบจ.นครฯจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

อบจ. นครฯ จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญตัวแทนกลุ่มสตรีจากทุกอำเภอร่วมกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ในวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคมนี้

นายชำนาญ เอียดแก้ว ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวสื่อสาธารณะว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เตรียมจัดงานสตรีสากลเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ครั้งที่ 3 ประจำปีพุทธศักราช 2550 ระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 มีนาคม โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตัวแทนสตรีจากทุกอำเภอ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกิจกรรมภายในงานตลอดทั้ง 3 วัน ประกอบด้วย กิจกรรมสัมมนาวิชาการ ณ โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 920 คน กิจกรรมเดินรวมพลังสตรีจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 จำนวน 2,300 คน และกิจกรรมการแข่งขันกีฬา 6 ประเภท

- แทรกเสียงแหล่งข่าว -
ความยาวโปรย 10 วินาท
ความยาวข่าว 1.20 วินาที
เริ่มที่ กำหนดจัดขึ้น
จบที่ พี่น้องประชาชน

ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจัดหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวด้วยว่า ในส่วนของกิจกรรมภาคกลางคืนจะจัดขึ้นเฉพาะคืนวันที่ 9 และ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นกิจกรรมการแสดงของตัวแทนกลุ่มสตรีจาก 8 อำเภอ ทั้ง 2 คืน ๆ ละ 4 อำเภอ คือ อำเภอพิปูน , อำเภอปากพนัง, อำเภอท่าศาลา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, อำเภอหัวไทร , อำเภอเมือง และอำเภอลานสกา
พนิดา แก้วกาญจน์
ผู้ช่วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ค่ะ

Monday, January 29, 2007

โครงการจัดงานสตรีเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ครั้งที่ 3

โครงการจัดงานสตรีเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ครั้งที่ 3

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดประชุม หัวข้อเรื่องโครงการจัดงานสตรีเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ครั้งที่ 3 ประจำปี 2550 จากการประชุม ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม พลังเมืองนคร ชั้น 1 อบจ.นศ. เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2550 สรุปกิจกรรม วันที่ 8 มีนาคม 2550 ที่ประชุมมีมติกำหนดการเวทีวิชาการ ณ โรงแรมทวินโลตัส อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 920 คน วันที่ 9 มีนาคม 2550 ที่ประชุมมีมติกำหนด การเดินรวมพลังของกลุ่มพลังสตรีจังหวัดนครศรีธรรมราชของทุกอำเภอ จากสนามหน้าเมือง ไปยังสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (พร้อม ณ นครอุทิศ) โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมสตรีเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้อำเภอละ 100 คน รวม 2,300 คน วันที่ 10 มีนาคม 2550 ที่ประชุมมีมติกำหนดการจัดการแบ่งปันกีฬา 6 ประเภท โดยทุกอำเภอจะต้องส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน

สำหรับการแสดงของสตรี กำหนดให้มีการแสดงทั้งหมด 8 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอพิปูน , อำเภอปากพนัง , อำเภอท่าศาลา, อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, อำเภอหัวไทร, อำเภอเมือง , อำเภอลานสกา โดยที่ประชุมมีมติให้แบ่งการแสดงเป็น 2 คืน คืนละ 4 อำเภอ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงแจ้งเพื่อทราบ

Sunday, January 7, 2007

ตัวอย่าง :Format Script ข่าวโทรทัศน์ (ข่าวภาคสนาม)

ข่าวภาค : 12.30 น.

วันที่ : ............../.............../............ สถานะข่าว : PRV

หัวข้อข่าว : ..................................... ลำดับที่: ...........

ผู้สื่อข่าว : ................. สายข่าว : .........................

โปรดิวเซอร์ : (..........................) บ.ก.ข่าว : (.....................................)

ช่างภาพ : ......................... ตัดต่อ : (..................................

( ) ข่าวอ่าน ( ) ข่าวประกอบเสียง ความยาวโปรย : __: ความยาวเทป : __

ภาพ

เสียง

v ผู้สื่อข่าว ( รายงาน )

v ซ้อน CG

สมบูรณ์ ใจกล้าผู้สื่อข่าว

v เทป-อ่านต่อ

(Insert ภาพข่าว)

v ซ้อน CG

นายปลอดประสพ สุรัสวดี

อธิบดีกรมป่าไม้

โปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรยโปรย

โปรยโปรยโปรยโปรย (พิมพ์ตัวหนา)

เนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อ

............................Insert เสียงแหล่งข่าว..........................

TC : 00 : 01 : 55 เริ่มที่ พูดดดดดดดดด.................

TC : 00 : 02 : 08 จบที่ ...............พูดดดดดดดดดดด

ภาพ

เสียง

v เทป-อ่านต่อ

(Insert ภาพข่าว)

v ซ้อน CG

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

v เทป-อ่านต่อ

(Insert ภาพข่าว)

หรือ

v ผู้สื่อข่าว ( รายงาน )

v ซ้อน CG

สมชาย หอมละออ- ถ่ายภาพ

สมศรี คำนอก, สมรักษ์ คำเมือง, สมชาย คำถิ่น ผู้สื่อข่าว ...สมบูรณ์ ใจกล้า รายงาน

เนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อเนื้อ

............................Insert เสียงแหล่งข่าว..........................

TC : 00 : 02 : 55 เริ่มที่ พูดดดดดดดดด.................

TC : 00 : 03 : 08 จบที่ ...............พูดดดดดดดดดดด

เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบเนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบเนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบเนื้อปิดจบ(ถ้ามี)เนื้อปิดจบ(ถ้ามี)............สมชาย หอมละออ

- ถ่ายภาพ...สมศรี คำนอก, สมรักษ์ คำเมือง, สมชาย คำถิ่น ผู้สื่อข่า ...สมบูรณ์ ใจกล้า รายงาน

ผู้สื่อข่าว


วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร


วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมืองมีเนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้


ตามตำนานกล่าวว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ.854 สร้างมามากกว่า 1,500 ปี มีศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย โดยเจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลาและบาคู (นักบวช) ชาวลังกา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เพื่อเป็นที่หมายไว้ ต่อมาปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น พร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นทรงศาญจิ และในปี พ.ศ. 1770 พระองค์จึงได้รับเอาพระภิกษุจากลังกามาตั้งคณะสงฆ์และบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ให้เป็นไปตามแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา อันเป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันคือ เป็นทรงระฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง รอบพระมหาธาตุมีเจดีย์ 158 องค์ สูงจากฐานถึงยอด 37 วา 2 ศอก ยอดสุดของปล้องไฉนหุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา 1 ศอก แผ่เป็นแผ่นหนาเท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (หรือ 960 กิโลกรัม)ภายในวัดพระมหาธาตุฯ วิหารที่มีความสำคัญหลายองค์ประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอมมีพระพุทธรูป "พระจ้าศรีธรรมโศกราช" ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ วิหารพระมหาภิเนษกรม (พระทรงม้า) ทางขึ้นไปบนลานประทักษิณ วิหารทับเกษตร วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกาซึ่งเป็นที่จัดและแสดงโบราณวัตถุ
ประวัติความเป็นมา
วั ดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ. 1098 เพื่อเป็นที่ ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรมธาตุและสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด 165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง 4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม. กว้าง 1 เมตร เรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน
สมัยรัตนโกสินทร์ การบูรณะครั้งใหญ่ทำในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวในระหว่างปี พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ. 2441 มีผู้นำในการบูรณะคือ พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถู ปาฏมาภิบาล (ปาน) ต่อมา พ.ศ. 2513 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมวิหารคดหรือพระระเบียงและมี การซ่อมอีกหลายครั้ง
สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้บูรณะปฏิสังขรณ์กลีบบัวทอง คำ ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมปลียอดทองคำโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารีเป็นองค์ประธานคณะกรรมการโครงการเหรียญบาทสืบทอดพระธาตุเมืองคอนโดยมีกรม ศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ โดยเสริมความแข็งแรงของปลียอด

อาณาเขตติดต่อมีดังนี้
ทิศเหนือ จดโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ กว้าง 3 เส้น
ทิศใต้ จดถนนพระลาน กว้าง 3 เส้น
ทิศตะวันออก จดถนนราชดำเนิน ยาว 8 เส้น 10 วา
ทิศตะวันตก จดถนนพระบรมธาตุ ยาว 8 เส้น 10 วา

ความสำคัญต่อชุมชน
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช และ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะมีความสำคัญดังนี้
1. เป็นที่ตั้งขององค์พระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลมามนัสการพระ บรมธาตุเจดีย์อยู่มิได้ขาดสาย
2. มีโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสิ้น เช่น พระวิหารหลวง วิหารพระม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม วิหารพระแอด วิหารทับเกษตร วิหารคดหรือพระระเบียง วิหารธรรมศาลา วิหารโพธิ์พระเดิม เจดีย์รอยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธบาทจำลอง พระศรีมหาโพธิ์ พระพวย พระบรมราชา พระบุญมาก พระพุทธรูปปาง ประทานอภัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยเฉพาะพระวิหารหลวงนั้นเป็นอาคารที่มีความใหญ่ โตและงดงามมากนับเป็นพระอุโบสถที่กว้างใหญ่ที่สุดในภาคใต้
3. เป็นแหล่งเริ่มต้นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่อง ด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการนำ ทรัพย์สินเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารก็ได้ใช้วิหารเขียน เป็นที่เก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วยทอง เงิน นาก สำริด เช่น พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้น ไม้ทอง ถ้วยชาม และใช้วิหารโพธิ์ลังกาเก็บโบราณวัตถุ เช่นศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา พระ พุทธรูป หีบศพเจ้าพระยานคร พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นต้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ของวัดไป เมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวร- มหาวิหารเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อว่า “ศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถาน” ซึ่งต่อมากรมศิลปากรก็ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
4. เป็นแหล่งเริ่มต้นของหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้มาตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชในวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้สถานที่ที่วิหารสามจอม เมื่อมีหนังสือเพิ่มจึงได้ย้ายไปที่วิหาร ธรรมศาลา วิหารทับเกษตรและวิหารคด ตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ไปจัดสร้างหอสมุด แห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช
5. เป็นแหล่งกำเนิดประเพณีสำคัญ ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ประเพณี แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ส่วนประเพณีสวดด้านในปัจจุบันได้สูญหายไป ในวัน สำคัญทางพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันมาทำบุญในวัดพระมหาธาตุเป็นจำนวน มาก
6. ใช้เป็นสถานที่ประกอบราชพิธีและพิธีที่สำคัญในอดีต เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมือง การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีแรกนาขวัญ พิธีโล้ชิงช้า

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
โบราณวัตถุที่สำคัญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารดังนี้

พระบรมธาตุเจดีย์
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์
1. ความสูงของพื้นถึงยอด สูง 37 วา
2. ฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 3 ศอก
3. ฐานยาวด้านละ ยาว18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว
4. ยอดหุ้มด้วยทองคำหนัก 800 ชั่ง (600 กิโลกรัม)
5. ส่วนที่หุ้มทองคำ สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ
6. ปล้องไฉน 52 ปล้อง
7. หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์
8. บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง6 วา 2 ศอก 1 คืบ
9. ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน จำนวนมากกำไล ต่างหู ผูกแขวนบนปลียอดทองคำ
10. บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ
11. รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก
12. รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย
13. ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว

วิหารพระทรงม้า (พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์)
ตั้งอยู่ติดกับพระบรมธาตุเจดีย์ทางด้านทิศเหนือความกว้าง 5 วา 10 นิ้ว ยาว 15 วา 3 ศอก สูง 7 วา ฝาผนังภายในวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธองค์ทรงม้า เสด็จออกบรรพชา ลักษณะเป็นศิลปะอยุธยาตอนกลาง โบราณวัตถุภายในวิหารพระม้ามีดังนี้
ลักษณะโบราณวัตถุ จำนวน
1. พระพุทธรูปสำคัญ คือรูปพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ 3 องค์ พระโมคลาน และพระสารีบุตร
2. บันไดตรงกลางวิหาร ทางขึ้นไปยังลานประทักษิณ22 ขั้น
3. ยักษ์อยู่ตรงหัวบันได ด้านซ้ายคือท้าวเวกุราช ด้านขวา 2 ตน คือท้าวเวชสุวรรณ
4. พญาครุฑ อยู่ข้างบันได ด้านซ้าย คือท้าววิรุฬหก2 ตัว ด้านขวา คือท้าววิรุฬปักษ์
5. สิงห์ อยู่ราวข้างบันได ด้ายซ้ายและขวา 6 ตัว
6. พระพุทธสิหิงค์จำลอง อยู่ข้างราวบันไดเหนือสิงห์ 2 องค์ ทั้งข้างซ้ายและขวา
7. เทพ อยู่เหนือสุดราวบันได ด้ายซ้ายคือท้าวจัตุคาม 2 องค์ ด้านขวา คือท้าวรามเทพ
8. ประตูไม้ เปิดสู่ลานประทักษิณ ที่บานประตูมีภาพ 1 ประตู แกะสลักทั้งสองบาน ด้านซ้ายเป็นรูปพระพรหม ด้านขวาเป็นรูปพระอินทร์
9. ภาพปูนปั้นเป็นภาพเทวดาและสัตว์ในเทพนิยายอยู่ผนัง สองข้างบันได -
10. พญานาค อยู่ด้านหน้าของบันได ทั้งซ้ายและขวา 2 ตัว คือท้าวภุชงค์
11. พระพุทธรูป อยู่ฐานพระบรมธาตุเจดีย์ รูปประทับยืน 3 องค์ คือพระร่วงโรจน์ฤทธิ์อีก 2 องค์คือพระพุทธรูปปางลีลา และปางขัดสมาธิ

วิหารสามจอม
วิหารสามจอมอยู่ทางด้านตะวันออกของพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในวิหารเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้าง พระบรมธาตุเจดีย์ด้านหลังของวิหารมีซุ้มสามช่องบรรจุพระพุทธรูปปางมารวิชัย และเป็นที่เก็บ อิฐเชื้อพระวงศ์และเจ้านายในเชื้อสายของพระเจ้ากรุงธนบุรีตากสินมหาราช และซุ้มประตูเป็น ภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติตอนทรงตัดเมาฬีเพื่อออกผนวช

วิหารทับเกษตร หรือพระระเบียง หรือวิหารคด
เป็นวิหารอยู่รอบฐานบริเวณภายในขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีประตู 2 ประตู ประตูด้านหน้า คือประตูเหมรังศรี ข้างประตูมีสิงห์โตหินตัวผู้และตัวเมีย หน้าจั่วซุ้มประตู ประดับแก้วสีเป็นรูปครุฑและนาคยึดเกี่ยวกัน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งทั้งสี่ด้านของระเบียง จำนวน 137 องค์ เป็นฝีมือช่างอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ทุกด้านของวิหารมีธรรมาสน์ตั้งอยู่เพื่อ แสดงธรรมในสมัยก่อนมีชาวบ้านมาสวดหนังสือก่อนพระเทศน์เป็นประจำ แต่ปัจจุบันประเพณี สวดหนังสือ (สวดด้าน) ได้สูญหายไป

วิหารหลวง
ตั้งอยู่บริเวณนอกเขตพระระเบียง ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างใน สมัยสุโขทัย ได้มีการปฏิสังขรณ์มาเป็นระยะ ๆ จวบจนในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมของวิหารหลวงเป็นแบบสุโขทัย มีความกว้างใหญ่และงดงาม มาก เสารอบนอก 40 ต้น เสาภายใน 24 ต้น ห้องระหว่างเสา 13 ต้นปลายเสาแบนราบเข้าหากัน แบบอยุธยา ทำให้ดูอ่อนช้อยงดงามมาก ด้านหน้าของวิหารแกะสลักไม้รูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ เป็นภาพแกะสลักที่วิจิตรงดงามมาก ด้านหลังของวิหารแกะสลักเป็นพระนารายณ์ทรง ครุฑ เพดานเขียนลายไทยปิดทองมีลายดารกาเป็นแฉกงดงามมาก หลังคามีช่อฟ้าและใบระกา พระประธานเรียกว่า พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยการก่อ อิฐถือปูนลงรักปิดทองสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ด้านข้างมีพระสาวกซ้ายและขวา คือพระโมคคั ลานะ และพระสารีบุตร และมีพระพุทธรูปยืนอีกหลายองค์

เส้นทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
การเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ใช้ 2 เส้นทางดังนี้
1. คนที่เดินทางมาจากทิศใต้ จากสี่แยกหัวถนน ตรงเข้าถนนราชดำเนิน จนถึงสี่ แยกประตูชัย ตรงไปจะถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่ทางด้านซ้ายมือ
2. หากเดินทางมาจากทิศเหนือ จากกองทัพภาคที่ 4 เข้าถนนราชดำเนิน บริเวณ หน้าสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านสี่แยกท่าวัง ศาลากลางจังหวัด หอนาฬิกา ตรงไป ทางด้านขวามือ จะถึงบริเวณหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
รอยพระพุทธบาตร
มีความเชื่อกันว่าได้เข้าไปกราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาตรจะมีความเจริญก้าวหน้า นิยมอธิฐานขอพรต่าง ๆ



ระฆังหน้าพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
มีความเชื่อตรงจุดว่าเป็นระฆัง เคาะเพื่อให้มีความเจริญก้าวหน้า นิยมเคาะ 3 ครั้ง 9 ครั้ง
ฆ้อง
ฆ้องอยู่ด้านในพระบรมธาตุวรมหาวิหาร มีความเชื่อใน 2 เรื่อง คือ ลูบเพื่อมีการอธิฐานขอพร ถ้าสมหวังเสียงก็จะดังขึ้นมาถือว่าสมคำอธิฐานอย่างที่ 2 คือ ลูบเพื่อเป็นการสัมผัสมือ ถือว่าหากมีเสียงดังเกิดขึ้นก็คือการวางมือถูกต้องและเป็นการสัมผัสที่ทำให้เกิดเสียงเกิดขึ้น


การหยอดเหรียญใส่บาตร
เป็นการทำบุญขอพรด้วยการหยอดเหรียญให้ครบบาตร



ระฆังด้านในพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
เป็นการลูบเพื่อขอพร หรือมีคำอธิฐานต่าง ๆ โดยการเดินลูบรอบ ๆ เจดีย์ 3 รอบ ถือเป็นการขอพระ


วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องในการศักดิ์การะบูชา
ตำนานเกี่ยวกับองค์จตุคาม

เจ้าชายรามเทพได้ศึกษาเล่าเรียนวิชา จตุคามศาสตร์ จากพระราชมารดาจนเจนจบ แล้วทรงเรียนรู้หลักสัจธรรมทางพุทธศาสนาเลื่อมใสศรัทธานิกายมหายานอย่างแรงกล้า มุ่งหน้าสร้างบารมี หวังตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ ตั้งปณิธานแน่วแน่ที่จะประกาศธรรมให้มั่นคงทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ทรงอุตสาหะบากบั่นสร้างราชนาวีตามตรรกศาสตร์มหายาน ที่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมได้รวดเร็วและปลอดภัยบรรทุก กำลังพลและสัมภาระได้ มากมายมหาศาลเยือนถึงน่านน้ำใด หลักศาสนา ศิลปอารยะธรรมประดิษฐานมั่นคง ณ ดินแดนนั้น จนเหล่าราชครูต่างถวาย นามาภิไธยราชฐานันดร ว่า องค์ ราชันจตุคามรามเทพ
เมื่อพระศรีมหาราชชาวชวากะได้ประกาศสัจธรรมทั่ว สุวรรณทวีปแล้วจึงได้สร้าง มหาสถูป เจดีย์ขึ้นที่หาดทรายแก้วและในปลายพุทธศตวรรษที่ 8
องค์ราชันจตุคามรามเทพทรงมานะพยายามจนบรรลุธรรมจนบรรลุโพธิญาณ จักรวาลพรหมโพธิสัตว์ ประกอบด้วย บุญฤทธิ์ อิทธิฤทธ อภินิหาร สยบฟ้า สยบดินได้ตามปรารถนา วาจาเป็นประกาศิตเหนือมวลชีวิตทั้งหลาย ทรงศักดานุภาพเหมือน ดังพระอาทิตย์และ พระจันทร์ สมญานามตาม ศาสตร์จันทรภาณุ สาปแช่งศัตรูผู้ใดจะถึงกาลวินาศ จนเลื่องลือไปทั่วทวีป ได้รับการถวายนามยกย่องว่า พญาพังพกาฬ การประกาศชัยชนะที่เด็ดขาดเหนือสุวรรณทวีปและหมู่เกาะทะเลใต้นี้เปรียบได้กับมหาราชในชมภูทวีป ดังนั้น พญาโหราบรมครูช่างชาวชวากะ ได้จำลองรูปมหาบุรุษเป็น อนุสรณ์ ตามอุดมคติศิลปศาสตร์ศรีวิชัย เรียกว่า ร่างแปลงธรรม รูปสมมุติแห่ง เทวราชที่มีตัวตนอยู่จริงในโลกมนุษย์ ทรงเครื่องราชขัติยาภรณ์ สี่กร สองเศียร พรั่งพร้อมด้วยเทพศาสตราวุธ เพื่อปกป้องอาณาจักรและพุทธจักร เพื่อเป็นคติธรรมและศิลปะกรรม ประดิษฐานในทุกหนแห่งในอาณาจักรทะเลใต้ ลูกหลานราชวงศ์ไศเลนทร์ในชั้นหลังได้ถ่ายทอดศิลปะศาสตร์แปลงร่างธรรมเป็น นารายณ์บรรทมสินธุ์บ้าง อวตารปราบอสูรบ้าง ตามค่านิยมของท้องถิ่น

สถานที่ตั้งบูชาพระเครื่องวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาของฝาก
สินค้าที่ระลึกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง เครื่องถม และผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา มีจำหน่ายบริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เครื่องถมนครเป็นหัตถกรรมสำคัญของนครศรีธรรมราชที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาแต่ อดีตมี 2 ชนิด คือ ถมดำซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีขาว พื้นเป็นสีดำ และถมทองหรือถมทาทอง ซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีทองพื้นเป็นสีดำ ปัจจุบันมีการสอนการทำหัตดรรมเครื่องถมที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชเครื่องถมนครที่ได้รับความนิยมจนปัจจุบันเนื่องจากยังรักษาคุณภาพไว้ได้ ลวดลายต่าง ๆ ยังสลักด้วยมือน้ำยาถมนครก็มีสีดำสนิทเป็นเงา สินค้าเครื่องถมได้แก่แหวน สร้อยคอ กำไล ขัน พาน ถาด ซึ่งเป็นการทำโดยใช้มือทั้งสิ้น บริเวณที่มีเครื่องถมขายมากปัจจุบันคือ ถนนท่าช้าง หลังสนามหน้าเมืองบริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชและในบริเวณตลาดท่าวัง